การศึกษาปฐมวัย
ความหมายของการศึกษาปฐมวัย
การศึกษาปฐมวัยเป็นการศึกษาที่ ครอบคลุมการดูแล และการศึกษาที่จัดให้กับเด็กแรกเกิดถึงอายุ 8 ปี การศึกษาอนุบาลเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาปฐมวัย
การศึกษาเป็นกระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่อาจจำแนกออกได้เป็น 4 ระดับ คือ การศึกษาระดับอนุบาล การศึกษาระดับประถมศึกษา การศึกษาระดับมัธยมศึกษา และการศึกษาระดับอุดมศึกษา ซึ่งการศึกษาแต่ละระดับที่กล่าวนี้ จะมีการจัดการและพัฒนาไปอย่างสอดคล้องกับวัยของผู้เรียน และการเปลี่ยนแปลงของสังคม การศึกษาอนุบาลเป็นการศึกษาเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกาย ความคิด สติปัญญา สังคม และอารมณ์ ในขณะที่การศึกษาระดับอุดมศึกษา มุ่งที่การเตรียมเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเป็นต้น ทั้งนี้การศึกษาแต่ละระดับมีลักษณะ และมีเป้าหมายเฉพาะตามระดับ
เดิมการศึกษาอนุบาลเป็นรูปแบบของการจัดการศึกษาสำหรับเด็กเล็กที่รัฐจัด ขึ้นเพื่อสนองตอบสังคมที่ต้องการให้บุตรหลานได้เข้าโรงเรียน เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการเรียน ชั้นประถมศึกษา แต่ภาวะการต่อมา การศึกษาอนุบาลได้รับการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคม เกิดรูปแบบของการจัดการศึกษาใหม่ขึ้นมาเรียกว่าการศึกษาปฐมวัย
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
การพัฒนาของการศึกษาปฐมวัย
การศึกษาปฐมวัยเริ่มต้นเมื่อปลายศตวรรษที่ 18 ทั้งในสหรัฐอเมริกาและยุโรปต่างมีการพัฒนา โรงเรียนสำหรับเด็กขึ้นอย่างหลากหลาย โอเบอร์ลิน (Frederick Oberlin) ตั้งโรงเรียนเด็กเล็กขึ้นในประเทศฝรั่งเศส เมื่อ ค.ศ. 1770 โดยดำเนินการ สอนภาษา หัดฝึกฝีมือ ออกกำลังกาย และ การเล่น โอเวน (Robert Owen) เปิดโรงเรียนสำหรับเด็กเล็ก ((Infant school) ขึ้นที่สหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1820 ด้วยความเชื่อที่ว่าวัยเด็กเป็นวัยแห่งการเรียนรู้และ พัฒนาบุคลิกภาพ ต่อมาปี ค.ศ. 1837 เฟรอเบล (Friedrich Froebel) ตั้งโรงเรียนอนุบาลขึ้นในประเทศเยอรมัน จากจุดนี้เอง เฟรอเบลนับเป็นผู้สร้างประวัติศาสตร์ที่ยาวที่สุดและยิ่งใหญ่ที่สุดของการ ศึกษาปฐมวัย (Spodek ใน Spodek and Saracho, 1995 : 3-5)
การศึกษาสำหรับเด็กเล็กในระยะแรกยังคงมุ่งเน้นเด็กอายุ 3 ขวบขึ้นไป ด้วยเห็นว่าเป็นวัยที่พร้อมต่อการเรียน แต่ด้วยแรงผลักดันจากสังคม ประมาณ ปี ค.ศ. 1950 ประเทศสหรัฐอเมริกามีปัญหาการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างครอบครัวแม่บ้านต้อง ประกอบอาชีพ สภาวะทางสังคมเปลี่ยนไป มีผลทำให้การจัดการศึกษาอนุบาลต้องขยายขอบเขตจาก 3-6 ขวบ เป็นให้การดูแลและการศึกษาแก่เด็กตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ 8 ปี เรียกว่าการศึกษาปฐมวัย
ด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์ การเมือง อุดมคติ และความจำเพาะของเหตุการณ์ จึงทำให้คำที่ใช้เกี่ยวกับการศึกษาเด็กเปลี่ยนไป ชาติตะวันตก หันมาใช้คำว่า “การศึกษาปฐมวัย (early childhood education) โดยให้หมายถึง การบริการ การดูแลและการให้การศึกษาแก่เด็กจากแรกเกิดถึงอายุ 8 ปี โดยจัดเป็นระบบเดียวกัน เรียกว่า Educare ทำให้การศึกษาเด็กเดิมขยายขอบเขตของการศึกษา ให้ครอบคลุมตั้งแต่การดูแลเด็กทารก การดูแลเด็กเล็ก และโรงเรียนอนุบาล (Woodill in Woodill et. al., 1992 : 14-15)
แม้การศึกษาก่อนเข้าโรงเรียน จะเปลี่ยนเป็นการศึกษาปฐมวัยแล้วก็ตาม ยังพบว่าการเรียนในชั้นอนุบาลหรือการเรียนชั้นเตรียม ป. 1 มีความสำคัญกับการศึกษาปฐมวัยมากที่สุด ทำให้การผลิตครูปฐมวัย เน้นการผลิตครูอนุบาลเป็นหลักต่อมาจึงผนวกวิชาการศึกษาปฐมวัยเข้าไปในหลัก สูตรครูอนุบาล แต่เนื่องด้วยการจัดการศึกษาปฐมวัยรวมเด็กแรกเกิดถึง 8 ปี จึงได้มีการปรับหลักสูตรการศึกษาครูเป็น 2 ระดับ คือ ครูผู้ทำหน้าที่ดูแลเด็ก (Child care teacher) กลุ่มหนึ่ง และ ครูอนุบาล อีกกลุ่มหนึ่ง การออกใบอนุญาต แยกเป็น 2 กลุ่มเช่นกัน คือ กลุ่มครูที่ทำงานกับเด็กแรกเกิดถึงอายุ 4 ปี และกลุ่มครูที่ทำงานกับเด็กอายุ 5 ปี ถึง 8 ปี เหตุผลเพราะทั้งสองกลุ่มต่างมีบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนทั้ง ด้านการบริหาร การสอน และการดูแล (Fromberg and Williams,in Williams and Doris, 1992 : 420-423)
หลังจากที่มีการปรับขอบเขตของการศึกษาปฐมวัยครอบคลุมถึงการดูแลเด็ก ตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ 8 ปีแล้ว ทำให้ผู้ที่มาทำหน้าที่บุคลากรปฐมวัย จะต้องผ่านการฝึกอบรมด้านการศึกษาปฐมวัยและจิตวิทยาพัฒนาการเด็กอีกทั้งต้อง มีความรู้ และสามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ทางสังคม มีเจตคติที่ดี และที่สำคัญสามารถดูแลและเลี้ยงเด็กได้ โดยใช้เหตุผล (EssA, 1995 : 30-31) โดยเฉพาะผู้ทำหน้าที่ครูต้องมีความรู้ทางด้านการศึกษาด้วย NAEYC, 1982 (National Association for the Education of Young Children) และ ACEI, 1982 (Association for Childhood Education Intemational) ได้กำหนดแนวทางการสำหรับเตรียมครูปฐมวัยว่าจะต้องประกอบด้วยข้อความรู้ ดังต่อไปนี้ (Brewer, 1995 : 504-505)
ความเข้มทางพื้นฐานด้านการศึกษาศิลปศาสตร์
ความรู้พื้นฐานด้านการศึกษาปฐมวัย
ความรู้ด้านหลักสูตร
ความรู้ด้านกระบวนการเรียนการสอน
ความรู้ด้านการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็ก
มีประสบการณ์ในการทำงานกับเด็กวัยเล็กด้านการนิเทศ
จุดประสงค์ของการศึกษาปฐมวัย
การจัดการศึกษาปฐมวัยได้รับการพัฒนาขึ้นมาจากแรงผลักดันของสังคม และความต้องการของสังคม ทำให้เกิดการจัดโครงการการบริการต่าง ๆ กัน ทั้งเพื่อการดูแลและการศึกษา ซึ่งในการพัฒนาการศึกษาปฐมวัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ (Essa, 1996 : 19-20)
บริการให้การดูแลและเลี้ยงดูเด็กให้เป็นไปอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการ
ให้การศึกษาเพื่อส่งเสริมการปรับตัวเข้ากับสังคม ทักษะทางปัญญา และพัฒนาการในทุกด้าน
จัดเป็นบริการเพื่อการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส เด็กยากจน ให้ได้รับการศึกษา การดูแลสุขภาพ การดูแลฟัน โภชนาการและการศึกษาสำหรับผู้ปกครอง
ลักษณะของสถานบริการและการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย
การศึกษาปฐมวัยเป็นการจัดการศึกษาให้แก่เด็ก ตั้งแต่แรกเกิดถึง 8 ขวบ ได้กำหนดขึ้น ที่บ้าน ศูนย์บริการหรือโรงเรียนก็ได้ โดยรูปแบบของการจัดนี้ จำแนกเป็น 2 ลักษณะ คือ จัดที่บ้าน (Home-based programs) หมายถึง การจัดบริการการดูแลที่ทำขึ้นที่บ้าน กับอีกลักษณะหนึ่งคือ จัดที่สถานบริการ (Center-based programs) เป็นบริการเด็กกลุ่มใหญ่ ซึ่งในการจัดบริการจำแนกตามอายุได้ 3 กลุ่ม คือ
กลุ่มเด็กทารก (อายุ 2 ขวบแรก)
กลุ่มเด็กเล็ก (อายุ 2-4 ขวบ)
กลุ่มเด็กอนุบาลและประถมต้น (อายุ 5-8 ขวบ)
ด้วยลักษณะความแตกต่างของกลุ่มเด็ก ทำให้สถานบริการและโรงเรียนมีความแตกต่างกัน เพื่อให้สอดคล้องกับเด็ก 8 ขวบแรก ที่มีพัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แต่ละขวบปีมีความแตกต่างและก้าวหน้าของพัฒนาการที่ต่างกันมากด้วยเหตุนี้ทำ ให้การดูแล การเลี้ยงดูการจัดประสบการณ์การเรียนแต่ละวัยต่างกัน เป็นเหตุให้มีรูปแบบของการจัดสถานบริการแตกต่างตามวัยของเด็กด้วย ซึ่งอาจจำแนกเป็นกลุ่มได้ดังนี้
กลุ่มที่ 1 สถานที่ที่รับดูแลและเลี้ยงเด็กเล็ก (Nursery) เป็นบริการดูแลเด็กจำแนกได้เป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
ศูนย์ดูแลเด็ก (Child care centers) เป็นสถานที่รับดูแลเด็กเพื่อการช่วยเหลือ แบ่งเบาภาระของพ่อแม่ที่ต้องทำงานกลางวัน โดยศูนย์จะเน้นการเลี้ยงดูแก่เด็กมากกว่าการให้การศึกษา วัยของเด็กที่รับดูแลอาจเริ่มตั้งแต่วัยทารกเป็นต้นไป หรือรับเฉพาะเด็กเล็ก บริการอาจจัดให้เฉพาะกลางวัน เรียกว่า ศูนย์เลี้ยงเด็กกลางวัน (Day-care center) หรือตลอด 24 ชั่วโมง
บ้านรับเลี้ยงเด็ก (Family day care) เป็นครอบครัวที่เปิดบริการรับเลี้ยงเด็กกลางวัน ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มเล็ก ๆ รับเด็กประมาณ 7-12 คน อาจเป็นลูกญาติ ลูกเพื่อน ลูกเพื่อนบ้าน โดยเลี้ยงไปควบคู่กับลูกตนเอง การดูแลให้การกินอยู่ตามปกติสบาย ๆ การรับดูแลอาจดูแลทั้งวัน หรือดูแลเป็นชั่วโมงเฉพาะช่วงที่ผู้ปกครองไปธุระก็มีบ้าง
กลุ่มที่ 2 โรงเรียนเตรียมก่อนเข้าอนุบาลเป็นโรงเรียนที่จัดขึ้นเพื่อสนับสนุนการเตรียมเด็กในการเข้าเรียนในโรงเรียนอนุบาล ได้แก่
โรงเรียนเด็กเล็ก (Nursery school) เป็นโรงเรียนที่พัฒนามาจากศูนย์ดูแลเด็ก การจัดบริการเน้นการดูแลแก่เด็กทั้งร่างกาย จิตใจอารมณ์และสังคม และการมีสุขภาพดี จัดสำหรับเด็กอายุ 2-4 ขวบ บางแห่งอาจรับอายุต่ำกว่า 2 ขวบ เปิดรับเลี้ยงตั้งแต่ครึ่งวันถึงเต็มวัน เด็กจะได้เล่นและมีการเรียนไปพร้อม ๆ กัน เป้าหมายของการดูแลอยู่ที่การพัฒนาสังคมและสติปัญญาสำหรับเด็ก เราจึงเรียกโรงเรียนลักษณะนี้ว่า โรงเรียนเด็กเล็กหรือศูนย์พัฒนาเด็ก
โรงเรียนเตรียมอนุบาล (Prekindergarten) ลักษณะเหมือนโรงเรียนเด็กเล็ก แต่เน้นการเตรียมตัวเด็กเพื่อเข้าเรียนชั้นอนุบาล รับเด็กอายุ 3 1/2 - 5 ขวบ
กลุ่มที่ 3 โรงเรียนอนุบาล เป็นบริการจัดการเรียนการสอนเพื่อเตรียมเด็กเข้าเรียนในระดับประถมศึกษารับ ตั้งแต่อายุ 3-6 ขวบ มี 3 ชั้นเรียน คือ อนุบาล 1 อนุบาล 2 และอนุบาล 3 เป็นการจดการศึกษาที่รัฐและเอกชนจัดทำขึ้นไม่นับเป็นการศึกษาภาคบังคับ สำหรับอเมริกาโรงเรียนอนุบาลเป็นการศึกษาสำหรับเด็ก อายุ 5-6 ปี
โรงเรียนอนุบาลสาธิต เป็นอีกลักษณะหนึ่งของโรงเรียนอนุบาลที่เปิดในมหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัย จัดตั้งขึ้นเพื่อใช้เป็นแหล่งศึกษาเชิงวิชาการหรือเป็นไปตามความต้องการของ สถาบันแม่
กลุ่มที่ 4 โรงเรียนเตรียมชั้น ป.1 (Pre-first grade หรือ junior first grade) เป็นโรงเรียนที่จัดขึ้นสำหรับเด็กที่ไม่มีโอกาสเข้าเรียนชั้นอนุบาล ได้เข้าเรียนเพื่อปรับตัวเองก่อนขึ้นชั้นเรียนประถมปีที่ 1 เปิดรับเด็กอายุ 6-7 ปี สำหรับประเทศไทยรู้จักกันในนาม “ชั้น ป. เตรียม” หรือ เตรียมชั้นประถมปีที่ 1
กลุ่มที่ 5 โรงเรียนสำหรับเด็กป่วย (Hospital school) โรงพยาบาลบางแห่งจะจัดโรงเรียนในโรงพยาบาลสำหรับเด็กเพื่อได้ศึกษาเล่าเรียน หรือทบทวนบทเรียนขณะอยู่โรงพยาบาลสำหรับเด็กปฐมวัยจะจัดเป็นห้องเล่น (play room) เป็นห้องที่จัดเตรียมให้ประโยชน์สำหรับการศึกษาของเด็ก เด็กได้มาเล่นและเรียนรู้ที่ห้องเล่นนี้ แต่บางครั้งผู้จัดอาจต้องไปบริการถึงเตียงหรือห้องเด็กป่วย ซึ่งจะใช้ในกรณีที่เด็กป่วยไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ โรงพยาบาลเด็กเป็นโรงพยาบาลหนึ่งที่มีการจัดห้องเล่น และการบริการเครื่องเล่นที่เตียงโดยผู้สอนเป็นทั้งครูและพยาบาล
จากการสำรวจการศึกษาและการดูแลเด็กปฐมวัยของ UNESCO ในปี 1987-1988 พบว่าประเทศไทยมีแหล่งบริการการศึกษาและดูแลเด็ก จำแนกเป็น โรงเรียนอนุบาล 5,372 แห่ง โรงเรียนเด็กเล็ก 7 แห่ง โรงเรียนก่อนประถมศึกษา 18,304 แห่ง ศูนย์เลี้ยงเด็กกลางวัน 2 แห่ง และแหล่งบริการลักษณะอื่น ๆ อีก 4,119 แห่ง รวมทั้งสิ้น 27,804 แห่ง (Fisher, 1991 : 15)
บุคลากรปฐมวัย
มอริสัน (Morrison 1991 : 14) ได้กล่าวถึงบุคลากรในด้านการศึกษาปฐมวัยว่าประกอบด้วยบุคคลต่อไปนี้ คือ
นักการศึกษาปฐมวัย เป็นผู้ทำงานกับเด็ก (อายุ แรกเกิด-8 ปี) และมีเจตจำนงค์ที่พัฒนาตนเอง โดยเข้าร่วมในโครงการฝึกอบรม ในการพัฒนาความรู้และสมรรถนะทางการศึกษาปฐมวัย
ครูปฐมวัย รับผิดชอบการวางแผนและการจัดโปรแกรมสำหรับเด็กปฐมวัยในโรงเรียน นิเทศผู้ช่วยครูและผู้ดูแลเด็กปกติต้องสำเร็จการศึกษาด้านการศึกษาปฐมวัย ประถมศึกษา หรือพัฒนาการเด็ก
ผู้ช่วยครูปฐมวัย ทำหน้าที่วางแผนและจัดกิจกรรมให้กับเด็ก ดูแลเด็กและให้ความรู้แก่เด็ก
ผู้ดูแลเด็ก ทำหน้าที่ดูแลเด็กและช่วยครูให้การศึกษาแก่เด็ก
ผู้ปกครอง ให้การดูแลเบื้องต้นแก่เด็ก สนับสนุน ป้องกัน และแนะนำเด็กในฐานะผู้ปกครองและพร้อมร่วมมือกับครูและโรงเรียน
นอกจากนี้ในหนังสือบางเล่มยังเสนอให้มีนักผู้ปกครองศึกษา (Paraent educator) เพื่อทำหน้าที่ให้การศึกษาและประสานการศึกษากับผู้ปกครอง อีกด้วยทั้งนี้เพราะโดยบทบาทหน้าที่ของการศึกษาปฐมวัยต้องให้ความรู้แก่ผู้ ปกครองเพื่อการร่วมส่งเสริมพัฒนาการเด็ก และการเลี้ยงเด็กที่มีประสิทธิภาพด้วย
จากการสำรวจจำนวนบุคลากรที่ให้การศึกษาและดูแลเด็กปฐมวัยของ UNESCO พบว่าประเทศไทย ในปี ค.ศ. 1987-1988 ประเทศไทยมีครู 42,015 คน เจ้าหน้าที่ดูแลเด็กกลางวัน 35 คน เจ้าหน้าที่อื่น ๆ 5,695 คน รวมทั้ง 47,745 คน(Fisher, 1991 : 43)
การศึกษาปฐมวัยกับการอนุบาลศึกษา
การจัดการศึกษาปฐมวัย เป็นการจัดการศึกษาให้กับเด็กอายุแรกเกิด - 8 ปี ที่รวมกึงการเรียนในโรงเรียนเตรียมอนุบาล อนุบาลและประถมศึกษา แต่ตำราหลายเล่มจะเน้นการศึกษาสำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี ซึ่งเป็นชั้นเตรียมอนุบาลและชั้นอนุบาล (Eliason and Jenkins 1994 : 1) ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดความสับสนระหว่างคำว่า อนุบาลกับการศึกษาปฐมวัย ซึ่งโดยแท้จริงแล้ว การศึกษาอนุบาลเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาปฐมวัยที่เป็นการศึกษาก่อนเข้า โรงเรียน เป็นจุดเชื่อมระหว่างบ้านและโรงเรียนถ้าจัดลำดับของสถานศึกษาปฐมวัยแล้ว จำแนกตามอายุเด็กได้เป็น 3 ระดับ คือ
สถานเลี้ยงเด็ก (Nursery) เป็นสถานบริการการดูแลเด็กและให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง จัดสำหรับเด็กอายุ 2 ขวบแรก
โรงเรียนเด็กเล็ก (Nursery school) รับเด็กตั้งแต่ 2 ขวบ หรือ 1 ขวบครึ่ง ถึง 3 ขวบ ทำหน้าที่ในด้านการดูแล ส่งเสริมพัฒนาการร่างกาย จิตใจ สังคม และภาษา
โรงเรียนอนุบาล (Kindergarten) ตามความหมายในพจนานุกรม คำว่า อนุบาลเป็นคำนามเรียกโรงเรียนที่สอนเด็กที่มีอายุระหว่าง 3 ขวบครึ่ง ถึง 7 ขวบ ว่าโรงเรียนอนุบาลเรียกครูที่สอนโรงเรียนว่าครูอนุบาล เรียกนักเรียนโรงเรียนอนุบาลว่า นักเรียนอนุบาลปัจจุบันโรงเรียนอนุบาลรับตั้งแต่เด็กอายุ 3 ขวบ เป็นต้นไป
การเปลี่ยนแปลงการศึกษาอนุบาลไปสู่การศึกษาปฐมวัยของประเทศไทยนั้นปราก ฎในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (2535-2539) ที่นโยบายการศึกษามุ่งถึง “(1) จัดการศึกษาและส่งเสริมการอบรมเลี้ยงดูที่เป็นประโยชน์ต่อพัฒนาการของเด็ก ตามสภาวะความต้อการพื้นฐานตามวัย ตั้งแต่ปฏิสนธิและการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และ (2) ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยทุกคนได้รับการบริการเพื่อเตรียมความพร้อม อย่างน้อย 1 ปี ก่อนเข้าเรียนระดับประถมศึกษา” จากแผนพัฒนาการศึกษาพุทธศักราช 2535 นี้ นับเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดการศึกษาปฐมวัยของประเทศ ในขณะที่การจัดเตรียมครูปฐมวัยในระดับปริญญาโท เริ่มต้นเป็นครั้งแรกที่คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในปี พ.ศ. 2527 (ภรณี คุรุรัตนะ, 2540 : 51) ส่วนการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยโดยสอดคล้องกับนิยามการศึกษา ปฐมวัย เริ่มในปี พ.ศ. 2540 กล่าวคือ กระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำหลักสูตรก่อนประถมศึกษา พุทธศักราช 2540 ขึ้น 3 หลักสูตรดังนี้
หลักสูตรก่อนประถมศึกษาแรกเกิด- 1 ปี
หลักสูตรก่อนประถมศึกษาอายุ 1-3 ปี
หลักสูตรก่อนประถมศึกษาอายุ 3-6 ปี
ข้อกำหนดที่เป็นจุดสำคัญสำหรับการศึกษาปฐมวัยคือต้องมีการอนุบาบศึกษาทุก ประเทศ แม้แต่ประเทศไทย แต่มิได้หมายถึงว่าจะต้องเป็นการศึกษาภาคบังคับ
แต่เป็นนโยบายทางการศึกษา จะเห็นได้ว่าการอนุบาลศึกษา ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาปฐมวัย หากจะให้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยครอบคลุมตามความหมายที่แท้จริงจะต้องมีการ ศึกษาที่ครอบคลุมทั้งพัฒนาการเด็กแรกเกิดถึงอายุ 8 ขวบ โดยมีการศึกษาและการศึกษาสำหรับผู้ปกครองด้วยไม่ใช่เน้นเฉพาะการอนุบาล ความแตกต่างของการศึกษาปฐมวัยและการอนุบาลศึกษาเปรียบเทียมได้ดังนี้
การศึกษาปฐมวัย การอนุบาลศึกษา
อายุเด็กแรกเกิด – 8 ปี
แรกเกิด-6ปี
ประเภทโรงเรียน
สถานเลี้ยงเด็ก
โรงเรียนเด็กเล็ก
โรงเรียนอนุบาล
โรงเรียนเตรียมประถมศึกษา
(ประถมตอนต้น เกรด 1)
หลักสูตร
หลักสูตรการเลี้ยงดูเด็ก
(Child care program)
สำหรับเด็ก 3 ขวบแรก
หลักสูตรอนุบาลศึกษา
สำหรับเด็ก 3-6 ขวบ
หลักสูตรเตรียมประถมศึกษา
สำหรับเด็ก 5-8 ขวบ
ประเทศไทยมี 3 หลักสูตร (2540)
หลักสูตรก่อนประถมศึกษา แรกเกิด-1 ปี
หลักสูตรก่อนประถมศึกษา อายุ 1-3 ปี
หลักสูตรก่อนประถมศึกษา อายุ 3-6 ปี
5-6 ปี
3-6 ปี
โรงเรียนอนุบาล
สำหรับโรงเรียนประถมศึกษา อาจจัดเป็นชั้นเรียนเรียกว่าชั้น เตรียม ป.1 หรือ ชั้นเด็กเล็ก
หลักสูตรอนุบาลศึกษา
หลักสูตรอนุบาลศึกษาและเกรดต้น
ประเทศไทยเดิมได้แก่
แนวการจัดประสบการณ์ระดับอนุบาล
ศึกษา
แผนการจัดประสบการณ์ก่อนประถม
ศึกษา ชั้นเด็กเล็ก
-ปัจจุบันคือ
หลักสูตรสำหรับเด็ก 3-6 ปี
หมายเหตุ หมายถึงการศึกษาของประเทศตะวันตก
หมายถึงการศึกษาของประเทศไทย
สรุป
การศึกษาปฐมวัยเป็นการศึกษาที่จัดขึ้นเพื่อช่วยเหลือ ดูแล และสนับสนุนแก่ครอบครัวและผู้ปกครองที่สืบเนื่องมาจากปัญหาการทำงานของผู้ ปกครอง ปัญหาครอบครัว และการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้บริการการศึกษาต้องครอบคลุมการดูแลเด็กและการศึกษาตั้งแต่แรกเกิดถึง อายุ 8 ปี ทั้งนี้การอนุบาลศึกษา ถูกผนวกไปเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาปฐมวัย ผู้ทำหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษาปฐมวัยจะต้องมีความรู้ทั้งทางด้านการศึกษา ปฐมวัยพัฒนาการของเด็กและการเลี้ยงดูเด็กอย่าง ถูกต้อง โดยสอดคล้องกับงานและภาระกิจที่จัดขึ้นในสถานเลี้ยงเด็ก โรงเรียนเด็กเล็กหรือโรงเรียนอนุบาล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น